2941 จำนวนผู้เข้าชม |
1. จดVAT ขอคืนภาษีซื้อได้
ไม่ว่าของที่คุณซื้อนั้นจะเป็นการซื้อของใช้ในอุปกรณ์สำนักงาน (ของที่ซื้อมาเพื่อใช้ทำงาน) และของที่ซื้อมาขาย คุณก็สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ (ในกรณีที่ของชิ้นนั้นมี VAT) นั่นหมายความว่า ต้นทุนของสินค้าของคุณจะถูกลง จากการ ขอคืนภาษีซื้อ นั่นเอง
2. การจัดการบัญชีที่เป็นระบบมากขึ้น
เพราะคุณจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือน และเก็บรายงานนี้ไว้เผื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจ ทำให้คุณจะต้องลงบัญชีการซื้อ-ขายสินค้าอย่างเป็นระบบ ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจและพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบัญชีธุรกิจง่ายขึ้นด้วย
3. เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ
ลูกค้าหรือคู่ค้าของคุณจำนวนมากมักจะขอใบกำกับภาษีทุกครั้ง ที่ทำการซื้อขายสินค้าและบริการ เพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์เป็นภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีของฝ่ายลูกค้าเอง นั่นหมายความว่าหากคุณไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ อาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำธุรกิจไปก็ได้
4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) ทำให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะการจด VAT นั้น เหมือนเป็นการการันตีว่า ธุรกิจของคุณนั้นเป็นธุรกิจที่เชื่อถือได้ มีตัวตนอยู่จริง เพราะได้รับการตรวจจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | กำหนดเวลาการจดทะเบียน |
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี | ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน |
2. ผู้ประกอบกิจการขายสนิค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการและเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร | ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่มีสัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม |
3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน |
https://www.rd.go.th/region/06/fileadmin/202/004_pdf/eCommerce01.pdf
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2. ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า