คำถามที่พบบ่อย
บริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่างกันอย่างไร??
• เรื่องของความรับผิดชอบ บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งคำว่าจำกัดนั้นก็มาจากการที่จำกัดความรับผิดชอบตามทุนจดทะเบียนของเรานั่นเอง ในส่วนของบริษัทจะจำกัดความรับผิดชอบให้กับทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนหากมีปัญหาในการดำเนินธุรกิจจะรับผิดชอบตามเปอร์เซ็นต์หุ้นที่แต่ละคนได้ถือไว้ ในทางกลับกันถ้าเป็นการจดทะเบียนแบบห้างหุ้นส่วนจะต้องมีคนหนึ่งในหุ้นส่วนทั้งหมดเป็นคนถือหุ้นส่วนผู้จัดการ ที่จะต้องรับผิดชอบไม่กำจัดจำนวน นั่นหมายความว่าคนที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจะมีความเสี่ยงกว่าหุ้นส่วนคนอื่น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทจำกัดที่ทุกคนที่จะต้องรับผิดชอบเท่ากัน
• ราคาค่าธรรมเนียมในการจัดตั้ง อย่างที่เราได้ทราบกันไปในข้างต้นแล้วว่า การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามารถจัดตั้งได้ง่ายกว่าบริษัทและมีราคาค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าเช่นกัน
ทุนจดทะเบียนต้องเท่าไหร่??
สำหรับผู้ที่จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนแล้ว ข้อควรระวังที่พึงต้องทราบก็คือ ทุนจดทะเบียน แม้ว่าท่านจะทำการจดทะเบียนบริษัทมานานแล้วหรือกำลังจะจดทะเบียน เรื่องของทุนจดทะเบียนก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความสับสนกันอยู่ สำหรับผู้ประกอบการแล้วเรื่องที่ควรจะทราบอันดับแรกก็คือ ผู้ประกอบการต้องมีเงินทุนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับจดทะเบียนอยู่ก่อนมากกว่าเงินจดทะเบียน 25% โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัททั่วไปจะนิยมจดทะเบียนบริษัทกันอยู่ที่ 1 ล้านบาท ซึ่งก็ทำให้หลายคนเกิดคำถามสงสัยขึ้นมาว่าทำไมผู้ประกอบการจึงนิยมจดทะเบียนกันอยู่ที่ทุนนี้ ซึ่งหากถามว่าบริษัทที่จะทำการจดทะเบียนนั้นสามารถจดเพิ่มขึ้นหรือน้อยกว่านี้ได้หรือไม่
คำตอบ คือ สามารถทำได้แต่หากมองในมุมกลับกันจะพบว่าเวลาที่บริษัทเราต้องการทำธุรกิจซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนสินค้าขึ้นมาและจำเป็นต้องมีการทำสัญญาซื้อขายในเรทราคาที่สูงขึ้น แน่นอนว่าความน่าเชื่อถือขององค์กรคุณจากเงินทุนการจดทะเบียนบริษัทนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความราบรื่น ทั้งยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทเพื่อให้คู่ค้าของเราเกิดความมั่นใจในการที่จะมาทำธุรกิจด้วยกับเรานั่นเอง
จด VAT แล้วดีอย่างไร (คนทำธุรกิจต้องรู้)
1. จดVAT ขอคืนภาษีซื้อได้
ไม่ว่าของที่คุณซื้อนั้นจะเป็นการซื้อของใช้ในอุปกรณ์สำนักงาน (ของที่ซื้อมาเพื่อใช้ทำงาน) และของที่ซื้อมาขาย คุณก็สามารถนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ (ในกรณีที่ของชิ้นนั้นมี VAT) นั่นหมายความว่า ต้นทุนของสินค้าของคุณจะถูกลง จากการ ขอคืนภาษีซื้อ นั่นเอง
2. การจัดการบัญชีที่เป็นระบบมากขึ้น
เพราะคุณจะต้องทำบัญชีรายงานภาษีซื้อ-ขายทุกเดือน และเก็บรายงานนี้ไว้เผื่อให้เจ้าหน้าที่สรรพากรมาตรวจ ทำให้คุณจะต้องลงบัญชีการซื้อ-ขายสินค้าอย่างเป็นระบบ ซึ่งการทำบัญชีอย่างเป็นระบบจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจและพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับบัญชีธุรกิจง่ายขึ้นด้วย
3. เพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ
ลูกค้าหรือคู่ค้าของคุณจำนวนมากมักจะขอใบกำกับภาษีทุกครั้ง ที่ทำการซื้อขายสินค้าและบริการ เพราะต้องการนำไปใช้ประโยชน์เป็นภาษีซื้อเพื่อลดภาระภาษีของฝ่ายลูกค้าเอง นั่นหมายความว่าหากคุณไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ อาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำธุรกิจไปก็ได้
4. กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) ทำให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะการจด VAT นั้น เหมือนเป็นการการันตีว่า ธุรกิจของคุณนั้นเป็นธุรกิจที่เชื่อถือได้ มีตัวตนอยู่จริง เพราะได้รับการตรวจจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
2. ออกใบกำกับภาษี
2.1 ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
2.2 การออกใบกำกับภาษีด้วยกระดาษ
2.3 การออกใบกำกับภาษีด้วยอิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ช่องทางการยื่น
4.1 การยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
4.4 การยื่นแบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ 1-5 และสำนักงานสรรพสามิตสาขาสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องเสียทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.5 การยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการชำระอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ณ ด่านศุลกากรที่มีการนำเข้าสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้นำเข้าที่นำเข้าสินค้า
ลำดับ | รายละเอียดงานบริการ | ค่าบริการ (บาท) |
R1 | จดทะเบียนบริษัทจำกัด | 2,000 |
R2 | จดทะเบียนบริษัทจำกัดและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรพื้นที่ | 2,590 |
R3 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด | 2,000 |
R4 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรพื้นที่ | 2,590 |
R5 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ธุรกิจบริการ + ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร | 2,000 |
R6 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ธุรกิจบริการ + ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | 2,500 |
R7 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญธุรกิจซื้อมา-ขายไป+ขอเลขผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนพาณิชย์ | 2,480 |
R8 | จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญธุรกิจซื้อมา-ขายไป+ขอเลขผู้เสียภาษีอากร+จดทะเบียนพาณิชย์+จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | 2,680 |
R9 | จดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) | 2,000 |
R10 | จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ธุรกิจออนไลน์) | 2,000 |
R11 | จดทะเบียนพาณิชย์ (ร้านค้า) +จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม | 2,500 |
R12 | จดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่เดียวกัน (ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร) | 2,500 |
R13 | จดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานต่างพื้นที่ (ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร) | 2,500 |
R14 | จดทะเบียนเพิ่ม/ลดสาขา ที่กระทรวงพาณิชย์ | 2,000 |
R15 | จดทะเบียนเพิ่ม/ลดสาขา ที่กระทรวงพาณิชย์+สรรพากร+ดำเนินการเรื่องยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน | 2,980 |
R16 | จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า- ออก | 2,500 |
R17 | จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการ | 2,500 |
R18 | จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท + เปลี่ยนแปลงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) | 2,500 |
R19 | จดทะเบียนลดทุนบริษัท | 2,500 |
R20 | จดทะเบียนเพิ่มทุน / ลดทุน ห้างหุ้นส่วน | 2,500 |
R21 | จดทะเบียนแก้ไขชื่อนิติบุคคลและตราประทับ | 2,500 |
R22 | จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ | 2,000 |
R23 | จดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) | 2,000 |
R24 | จดทะเบียนแก้ไข เพิ่มเติม วัตถุประสงค์ ที่กระทรวงพาณิชย์ + สรรพากร | 2,500 |
R25 | จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม | 2,500 |
R26 | ขอมีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของชาวต่างชาติ | 1,000 |
R27 | จดทะเบียนแก้ไขข้อบังคับ | 2,000 |
R28 | จดทะเบียนแก้ไขที่ตั้งตามทะเบียนราษฎร์ | 1,000 |
R29 | จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ | 2,500 |
R30 | จดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด | 6,900 |
R31 | จดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน พร้อมชำระบัญชี (กรณีไม่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) | 5,500 |
R32 | จดทะเบียนเลิกกิจการ / บริษัท / ห้างหุ้นส่วน พร้อมชำระบัญชี (กรณีเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) | 6,900 |
R33 | ขึ้นทะเบียนประกันสังคมนายจ้าง | 2,500 |
R34 | คัดหนังสือรับรองและเอกสารอื่น ๆ ครั้งละ | 750 |
R35 | ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว | 2,000 |
R36 | ขอใบอนุญาตจำหน่ายสุรา บุหรี่ | 2,000 |
R37 | ลงทะเบียนผู้นำเข้าส่งออก (Paperless) | 2,000 |
** ค่าบริการข้างต้นไม่รวมค่าธรรมเนียมรัฐบาล