จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

 ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามิได้เกิดขึ้นได้โดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้า จะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้นไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า

 

 

TM-130665-Art

  CKA ให้บริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนเครื่องหมายบริการ จดทะเบียนเครื่องหมายร่วมแบบครบวงจร  โดยทีมงานมืออาชีพ  มีประสบการณ์การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ยาวนานกว่า 20 ปี  ด้วยผลงานในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามากกว่า 2,000 เครื่องหมาย  ให้บริการด้วยระบบการทำงานที่ถูกต้อง  รวดเร็วและเป็นมาตรฐานดำเนินการตามกฎระเบียบข้อกฎหมายและรักษาความลับของลูกค้า ด้วยอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล  ทำให้ CKA Thai Trademark ได้รับการยอมรับจากลูกค้าด้วยดีเสมอมาตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา


ประเภทของเครื่องหมายการค้า
มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. เครื่องหมายการค้า ( Trade Mark ) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส  มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ ( Service Mark )  คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง ( Certification Mark ) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า  หรือบริการนั้น  เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม ( Collective Mark ) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
1.ชำระค่าบริการจดทะเบียน
2.ตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
3.ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
4.ติดตามสถานะ หลังยื่นจดทะเบียน
5.ได้รับใบสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
หลังจากยื่นจดทะเบียนแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนภายในระยะเวลา 12-14 เดือน หลังจากวันที่ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ข้อมูลจาก http://www.ipthailand.go.th/th/trademark-001.html

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

สำหรับบุคคลธรรมดา

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.ไฟล์ภาพเครื่องหมายการค้า

3.รายการสินค้าของเครื่องหมายการค้า

4.หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดเตรียมให้)

สำหรับนิติบุคคล

1.สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (มีอายุไม่เกิน 6 เดือน)

2.ไฟล์เครื่องหมายการค้า

3.รายการสินค้าของเครื่องหมายการค้า

4.หนังสือมอบอำนาจ (ทางเราจัดเตรียมให้)

อัตราค่าบริการ

ลำดับรายการค่าบริการ (บาท)
L1จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายละ1,900
L2ตรวจเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายละ2,000
L3จดทะเบียนเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายละ3,900
L4ต่ออายุเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายละ3,500
L5โอนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายละ3,500
L6จดทะเบียนสิทธิบัตร3,900
L7จดทะเบียนลิขสิทธิ์3,900

** ค่าบริการข้างต้นไม่รวมค่าธรรมเนียมรัฐบาล

ลำดับ รายการค่าธรรมเนียม (บาท)
1ก.01  คําขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม
หรือเครื่องหมายรวม
1,000
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง  อย่างละ9,000
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า 5 อย่าง จําพวกละ                         3,900
2ก.02 คําคัดค้านการขอจดทะเบียนตาม (1) ฉบับละ2,000
คำโต้แย้งไม่มี
3  ก.03  คำอุทธรณ์ 
ก) อุทธรณ์คําสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 27 หรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา 37  ฉบับละ4,000
ข) อุทธรณ์ตามมาตราอื่น ฉบับละ                                                         2,000
4ก.04คําขอโอนหรือรับมรดกสิทธิในคําขอที่ยื่นจดทะเบียนและคำขอโอนหรือมรดกสิทธิในเครื่องหมายที่จดทะเบียนแล้ว คำขอละ2,000
5ก.05คําขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คําขอละ1,000
6     ก.06     คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียนตาม (1) (4) และ (5) คําขอละ            200
คําขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม และสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ คำขอละ400
คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรอง 
ก) ก่อนการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คําขอละ                                      200
ข) หลังการจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง คําขอละ                                      400
คําขออื่นๆ คําขอละ                                                                          200
7  ก.07  คำขอต่ออายุการจดทะเบียน 
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก 1 ถึง 5 อย่าง อย่างละ                                2,000
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า 5 อย่าง จําพวกละ                         18,000
8ก.08คำร้องขอต่อคณะกรรมการให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม ฉบับละ1,000
9ก.09  การขอตรวจดูทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม หรือสารบบเครื่องหมายดังกล่าว ชั่วโมงละ (เศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง)200
การขอสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม เป็นชุดพร้อมคำรับรอง ฉบับละ400
การขอคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ20
การขอให้รับรองสำเนาเอกสารเรื่องเดียวกัน 
ก) เอกสารไม่เกิน 40 หน้า หน้าละ20
ข) เอกสารเกิน 40 หน้า ฉบับละ800
การขอคํารับรองจากนายทะเบียนเกี่ยวกับรายการการจดทะเบียน ฉบับละ             100
ใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ200
คำขอตรวจดูแฟ้ม คำขอจดทะเบียน คำขอละ200
คำขออื่น ๆ คำขอละ200
10ก.10คำขอถือสิทธิวันที่ยื่นคำขอนอกราชอาณจักรครั้งแรกหรือวันที่นำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายออกแสดงในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักรตามมาตรา 28, 28ทวิไม่มี
 11 ก.11ใบต่อแนบท้ายคำขอไม่มี 
 12 ก.12หนังสือแสดงการปฏิเสธ ไม่มี
 13ก.13 หนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายชุด  ยกเลิก 
 14 ก.14 หนังสือแจ้งฟ้องคดีต่อศาล คำพิพากษาและผลคดี ไม่มี
 15ก.15 หนังสือชี้แจงการถูกร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน ไม่มี
 16 ก.16บัตรหมาย  ยกเลิก 
17ก.17หนังสือสัญญาโอนไม่มี
18ก.18หนังสือมอบอำนาจไม่มี
19ก.19หนังสือขอผ่อนผันการส่งเอกสารหลักฐานไม่มี
20ก.20หนังสือนำส่งเอกสารหลักฐานและคำชี้แจงไม่มี
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วม 
ก) สินค้าหรือบริการแต่ละจำพวก 1 ถึง 5 อย่าง  อย่างละไม่มี
ข) สินค้าหรือบริการแต่ละจําพวก มากกว่า 5 อย่าง จําพวกละ                         ไม่มี
การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สัญญาละไม่มี
รูปเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมที่มีด้านกว้างหรือด้านยาวเกิน 5 เซนติเมตร ให้คิดเฉพาะส่วนที่เกิน เศษของเซนติเมตรให้คิดเป็นเซนติเมตร เซนติเมตรละไม่มี

** หมายเหตุ * เฉพาะที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียกเก็บ ไม่รวมค่าธรรมเนียมขององค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลกและประเทศปลายทาง
กรมทรัพยสนทางปัญญา (/th/component/obrss/dip.html)
DIP-NEWS (/th/component/obrss/dip-news.html)

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1. มาตรา ๖ เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้

(๑)เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

(๒)เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้าม

(๓)เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว

2.มาตรา ๗ เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าทีใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่นเครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้

(๑)ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษละไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

(๒)คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรงและไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๓)คำที่ประดิษฐ์ขึ้น

(๔)ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น

(๕)กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ

(๖)ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว

(๗)ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้วหรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้นถ้ามีแล้ว

(๘)ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

(๙)ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(๑๐)รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

(๑๑)เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้นหรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจาการทำงานของสินค้านั้น

เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามวรรคสอง (๑) ถึง (๑๑) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

3.มาตรา ๘ เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้รับจดทะเบียน

(๑)ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำแหน่ง ตราประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจำจังหวัด

(๒)ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือ ธงราชการ

(๓)พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์

(๔)พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท

(๕)ชื่อคำข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท หรือพระราชวงศ์

(๖)ธงชาติหรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือเครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจำประมุขของรับต่างประเทศ เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ

เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น

(๗)เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา

(๘)เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใดอันได้รับเป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของของรัฐของประเทศไทยรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การะหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้นเว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรองประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสำหรับสินค้านั้นและใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้านั้นแค่ทั้งนี้ต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย

(๙)เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย

(๑๐)เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าวจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะจดทะเบียนได้หรือไม่ก็ตาม

(๑๑) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (๑)(๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗)

(๑๒) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

(๑๓) เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้